หลักสูตร ความรู้พื้นฐาน ในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

หลักการและเหตุผล

          พลังงานไฟฟ้า นับได้ว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนทางธุรกิจขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาคบริการ หรือภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือการใช้พลังงานไฟฟ้นั้น ย่อมมีความเสี่ยงอันตราย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสูญเสีย ทั้งต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน

            ความปลอดภัยในการทำงาน จึงถูกกำหนดให้เป็นนโยบายที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) และคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) เป็นกำลังหลักในการผลักดันให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของทุกองค์กร สำหรับความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้านั้น กระทรวงแรงงานได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พุทธศักราช ๒๕๕๘ มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน

            เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นเกี่ยวกับไฟฟ้า ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในการนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ร่วมกับช่างเทคนิค วิศวกรในองค์กร รวมถึงการติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการทำงานของช่างผู้รับเหมาที่เข้ามาทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ควรจะได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรความรู้พื้นฐานในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

วัตถุประสงค์

– เพื่อเรียนรู้ถึงกฎหมายเกี่ยวกับงานไฟฟ้า กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และความสำคัญของความปลอดภัย
– เพื่อเรียนรู้ถึงหลักการทางด้านเทคนิคเกี่ยวกับไฟฟ้าพื้นฐาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
– เพื่อเรียนรู้ถึงอันตราย การประสบอันตรายจากไฟฟ้า และวิธีป้องกันที่ถูกต้อง
– เพื่อเรียนรู้ถึงระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  • ผู้ปฎิบัติงานช่างเทคนิค
  • วิศวกร
  • นักเรียน นักศึกษา
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) คณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.)
  • ผู้ที่สนใจด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า

เนื้อหาวิชา ประกอบด้วย

1.กฎหมายเกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้า 
1.1 กฎกระทรวงฯ พ.ศ.2558 
1.2 พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานฯ พ.ศ.2545 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557

2.ไฟฟ้าเบื้องต้น ที่ผู้ปฎิบัติงานด้านความปลอดภัยต้องรู้ 
2.1 แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า, ความต้านทานไฟฟ้า 
2.2 กฎของโอมห์ และกำลังไฟฟ้า 
2.3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า

3.เครื่องมือ และการตรวจวัดทางไฟฟ้าพื้นฐาน 
3.1 การตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า 
3.2 การตรวจวัดกระแสไฟฟ้า 
3.3 การตรวจวัดความต้านทานไฟฟ้า 
3.4 การตรวจวัดความเป็นฉนวนไฟฟ้า 
3.5 การตรวจวัดความต้านทานหลักดิน

4.สายไฟฟ้า พื้นฐานการใช้งาน และการเปลี่ยนแปลง 
4.1 สายไฟ มอก.11-2531 (มาตรฐานเก่า) 
4.2 สายไฟฟ้า มอก.11-2553 (มาตรฐานใหม่)

5.อันตรายจากการประสบอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกัน 
5.1 ไฟฟ้าดูด และการป้องกัน 
5.2 ไฟฟ้าลัดวงจร และการป้องกัน

6.ระบบการจัดการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 
6.1 พลังงานไฟฟ้าสะสมในพื้นที่ทำงาน ที่อาจเป็นอันตราย 
6.2 การปลดปล่อยพลังงานไฟฟ้าสะสม ก่อนลงมือปฎิบัติงาน 
6.3 การประยุกต์ใช้ระบบ Lockout Tagout เพื่อความปลอดภัยในงานไฟฟ้า

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม

  • ผู้ปฎิบัติงานช่างเทคนิค
  • วิศวกร
  • นักเรียน นักศึกษา
  • เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) คณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.)
  • ผู้ที่สนใจ

สอบถามรายละเอียด ค่าใช้จ่าย และ วันเวลาในการฝึกอบรม
โทร : 02-062-7989 , 062-459-5700