หลักสูตร ผู้ตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า

สำหรับ หัวหน้างานซ่อมบำรุง/เจ้าหน้าที่ดูแลระบบความปลอดภัย/วิศวกร

หลักการและเหตุผล

     พลังงานไฟฟ้านับได้ว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนทางธุรกิจของทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาคบริการ หรือภาคอุตสาหกรรม และการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า หรือการใช้พลังงานไฟฟ้านั้นย่อมมีความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดความสูญเสีย ทั้งต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน อย่างใหญ่หลวงได้เช่นกัน ความปลอดภัยในการทำงานจึงกำหนดเป็นนโยบายที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) และคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปอ.) เป็นกำลังหลักในการผลักดันให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานของทุกองค์กร

การใช้งานระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ จะให้มั่นใจว่าใช้งานได้อย่างปลอดภัย จะต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อมีการใช้งานระบบไฟฟ้าแล้ว ย่อมเกิดการสึกหรอ เสื่อมสภาพ ทรุดโทรม จนอาจจะเป็นอันตรายได้ทั้งในด้านชีวิต ทรัพย์สิน เช่น เกิดไฟฟ้าดูด เกิดไฟฟ้าลัดวงจร เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น โดยเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวนั้น ได้เกิดขึ้นและมีให้เห็นมากมายจากข่าวทางสื่อสารมวลชน สาเหตุหลักของการเกิดปัญหาดังกล่าว เนื่องมาจากการขาดการตรวจสอบในเรื่องความปลอดภัย ทางผู้จัด จึงเห็นสมควรที่จะจัดอบรมหลักสูตรนี้ขึ้น เพื่อให้รู้ถึงหลักการทางด้านเทคนิคที่มีความสำคัญ วิธีการ และแนวทางในการตรวจความปลอดภัยในระบบไฟฟ้าภายในองค์กร เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาทีอาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

นอกจาก การฝึกอบรมเพื่อสร้างความปลอดภัยในองค์กรของท่าน หลักสูตร ผู้ตรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้าสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ยังเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องอีกด้วย อาทิเช่น

– กฎกระทรวง “กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับ ระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ.๒๕๕๐” โดยกระทรวงอุตสาหกรรม

– กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๘

 ประโยชน์ที่จะได้รับ

1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าในองค์กรหรือสถานประกอบการ
2. เสริมความรู้ด้านพื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า และมาตรฐานด้านไฟฟ้าต่างๆ
3. ความรู้พื้นฐานในเรื่องเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า สายไฟฟ้า และบริภัณฑ์ทางไฟฟ้า
4. ความรู้ในเรื่องอันตรายจากไฟฟ้า และการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
5. การจัดการและการตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้าในองค์กรหรือสถานประกอบการ
6. รองรับการ Audit หรือการตรวจสอบทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร

เนื้อหาวิชา

1.กฎหมายเกี่ยวกับงานด้านไฟฟ้า 
1.1 กฎกระทรวงฯ พ.ศ.๒๕๕๘ (กระทรวงแรงงาน)
1.2 กฎกระทรวงฯ พ.ศ ๒๕๕๐ (กระทรวงอุตสาหกรรม)
1.3 พรบ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานฯ พ.ศ.๒๕๔๕ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๗

2. ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าเบื้องต้น
2.1 แรงดันไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า, ความต้านทานไฟฟ้า
2.2 กฎของโอมห์ และกำลังไฟฟ้า
2.3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้า รวมทั้งหน้าที่การทำงาน
2.4 ระบบผลิต และจ่ายไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย

3.เครื่องมือ และการตรวจวัดทางไฟฟ้าพื้นฐานสำหรับงานด้านความปลอดภัย
3.1 การตรวจวัดแรงดันไฟฟ้า
3.2 การตรวจวัดกระแสไฟฟ้า
3.3 การตรวจวัดความต้านทานไฟฟ้า
3.4 การตรวจวัดความเป็นฉนวนไฟฟ้า
3.5 การตรวจวัดความต้านทานหลักดิน
3.6 การตรวจวัดกำลังไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า
3.7 การตรวจวัดอุณหภูมิในระบบไฟฟ้า

4.สายไฟฟ้า พื้นฐานการใช้งาน และการเปลี่ยนแปลง 
4.1 สายไฟ มอก.11-2531 (มาตรฐานเก่า)
4.2 สายไฟฟ้า มอก.11-2553 (มาตรฐานใหม่)
4.3 วิธีการเดินสาย และขนาดกระแสของสายไฟฟ้าที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งาน

5.อันตรายจากการประสบอันตรายจากไฟฟ้าและการป้องกัน 
5.1 ไฟฟ้าดูด และการป้องกัน
5.2 ไฟฟ้าลัดวงจร และการป้องกัน

6.ระบบการจัดการเพื่อความปลอดภัย และการตรวจความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 
6.1 ระบบการอนุญาตให้เข้าทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
6.2 พลังงานไฟฟ้าสะสมในพื้นที่ทำงาน ที่อาจเป็นอันตราย
6.3 การปลดปล่อยพลังงานไฟฟ้าสะสม ก่อนลงมือปฏิบัติงาน
6.4 การประยุกต์ใช้ ระบบ Lockout Tagout เพื่อความปลอดภัยในงานไฟฟ้า
6.5 การตรวจความปลอดภัยสำหรับการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้า (รวมทั้งกรณีศึกษา)
6.6 การตรวจการทำงานใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง และระบบไฟฟ้าชั่วคราว

7. การตรวจสอบความปลอดภัยระบบไฟฟ้า เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย ที่ จป. ทุกระดับ ต้องทราบ
7.1 หลักการ เหตุผล และความสำคัญของการตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามกฎหมาย
7.2 แบบฟอร์มการตรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า (กรมโรงงานอุตสาหกรรม)
7.3 แบบฟอร์มการตรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)
7.4 สาระสำคัญ หลักเกณฑ์ และวิธีการตรวจสอบฯ ระบบไฟฟ้าตามกฎหมาย ทั้ง 2 กรมฯ
7.5 คุณสมบัติของผู้ทำการตรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า ตามกฎหมาย
7.6 การทบทวน การสอบรายงานผลการตรวจความปลอดภัยระบบไฟฟ้า เพื่อการนำไปปฏิบัติที่ถูกต้อง

ระยะเวลาการฝึกอบรม

2 วัน ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมฝึกอบรม

– เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ, ระดับหัวหน้างาน, ระดับบริหาร, ระดับเทคนิค, เทคนิคขั้นสูง
– คณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.)
– วิศวกร
– ช่างเทคนิค, ช่างไฟฟ้า, ช่างซ่อมบำรุง
– ผู้ที่สนใจ

ติดต่อสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติม และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้ที่ Line