หลักสูตร ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงดันสูง

รวมถึง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงดันสูงและแรงดันต่ำ พร้อมการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษา

https://youtube.com/shorts/PDM54pPGia0

กลุ่มเป้าหมาย : วิศวกร  ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้ที่สนใจ

หลักการและเหตุผล

ระบบจ่ายไฟฟ้า  นับเป็นระบบจ่ายพลังงานที่เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนทางด้านการผลิต และการให้บริการของทุกองค์กร  ระบบไฟฟ้าที่มั่นคงมีเสถียรภาพย่อมส่งผลดีต่อสายการผลิต และ ความต่อเนื่องในการให้บริการด้านการพาณิชย์ให้สามารถบรรลุเป้าหมายของทุกองค์กรได้  การตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษาอุปกรณ์หลักในระบบจ่ายไฟฟ้าทั้งด้านแรงดันสูง และแรงดันต่ำนับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญ  ไม่ว่าจะเป็นสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย(Substation) ระบบสายจำหน่ายไฟฟ้าแรงดันสูง  อุปกรณ์ตัดตอนในระบบแรงดันสูง  หม้อแปลงไฟฟ้า  สายเมนไฟฟ้า  ตู้เมนการจ่ายไฟฟ้า  ตลอดจนระบบสายดิน และการต่อลงดินของระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้า  หากแต่การตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษาอุปกรณ์ดังกล่าวต้องทำโดยผู้มีความรู้ ความชำนาญงาน  เพราะหากเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ย่อมส่งผลกระทบในหลายๆด้าน ทั้งด้านความปลอดภัยต่อตัวผู้ปฏิบัติงาน  และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน  อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบในทางอ้อมต่อการหยุดสายการผลิต หรือหยุดการให้บริการ  จนอาจส่งผลทระทบในเชิงธุรกิจขององค์กรได้

ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  พนักงานผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งด้านแรงดันสูง และแรงดันต่ำ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงาน ตลอดจนความรู้ความเข้าใจในมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องมีความสัมพันธ์กันในแต่ละระบบอีกด้วย  อีกทั้งในเรื่องดังกล่าวก็ได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ ดังเช่น

            – กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ.2550 โดย “กระทรวงอุตสาหกรรม”

            – กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.2558 โดย “กระทรวงแรงงาน”  เป็นต้น

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์ในระบบจ่ายไฟฟ้าซึ่งต้องทำงานโดยสัมพันธ์กัน ทั้ง Substation  และอุปกรณ์ประกอบในระบบแรงสูง หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายแรงสูง  ตู้เมนการจ่ายไฟฟ้า(MDB) อุปกรณ์ประกอบตู้ MDB สายเมนไฟฟ้า สายป้อนไฟฟ้า ตู้จ่ายไฟฟ้าย่อย(DB)

2.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจในมาตรฐานด้านการตรวจสอบอุปกรณ์ในระบบจ่ายไฟฟ้า เพื่อการบำรุงรักษาให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าทั้งด้านแรงดันสูง และ แรงดันต่ำ อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

4.เพื่อเป็นการพัฒนายกระดับฝีมือแรงงานของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าทั้งด้านแรงดันสูง และแรงดันต่ำให้มีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และไม่เกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน

หัวข้อการฝึกอบรม ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

1.การปลด-สับ อุปกรณ์ตัดตอนในระบบไฟฟ้าแรงดันสูง เช่น Dropout Fuse และ Disconnecting Switch

 และการตรวจสอบ

2.การตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย และอุปกรณ์ประกอบในระบบแรงสูง

3.ตู้เมนการจ่ายไฟฟ้า(MDB) อุปกรณ์ประกอบตู้ และระบบควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ภายในตู้ รวมทั้งการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษา

4.มาตรฐานการติดตั้งสายดินในระบบไฟฟ้า และการตรวจสอบเพื่อการบำรุงรักษา

5.อุปกรณ์ และเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับอุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าแรงดันสูง และไฟฟ้าแรงดันต่ำ ตลอดจนวิธีการใช้งาน

6.เครื่องมือตรวจวัด และการตรวจวัดในระบบไฟฟ้ากำลัง เพื่อประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้า

7.อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล สำหรับการปฏิบัติงานทางด้านไฟฟ้าแรงดันสูง และแรงดันต่ำ

8.เทคนิคการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า และการช่วยเหลือผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

ภาคความรู้ 1 วัน 6ชั่วโมง เวลา 09.00-16.00น.

ภาคปฏิบัติ 1 วัน 6ชั่วโมง เวลา 09.00-16.00น.

การประเมินผลการฝึกอบรม

-แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ

-การฝึกปฏิบัติจริง(Workshop) ณ สถานที่จริง

วิทยากร/ผู้อบรม

อาจารย์ชัยยา   ปาณาราช  การศึกษา วศ.บ.ไฟฟ้ากำลัง/นบ.(นิติศาสตรบัณฑิต)/วท.บ.อาชีวอนามัยและความปลอดภัย/ปว.ค.(ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู)

-วิทยากรขึ้นทะเบียน ตามมาตรา9 หลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าฯ (กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

– สามัญวิศวกรไฟฟ้ากำลัง สฟก.5023(สภาวิศวกร)

– ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโส(ผอ.ส.) (กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)

– ผู้ทดสอบ ผู้ประเมิน ช่างไฟฟ้าในอาคาร(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)

– ผู้ทดสอบ ผู้ประเมิน ช่างเครื่องปรับอากาศ(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)

– ผู้ตรวจประเมินฯPSM(การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)

– ผู้ตรวจสอบรับรองระบบการจัดการพลังงาน(กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน)

– ผู้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ และสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ(กรมธุรกิจพลังงาน)