หลักสูตร ความปลอดภัยในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ และการประยุกต์ใช้งาน

๑. วัตถุประสงค์

๑.๑ เพื่อให้ผู้รับการฝึกมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์

๑.๒ เพื่อให้ผู้รับการฝึกมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

๑.๓ เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในงานด้านต่างๆได้

๒. ประโยชน์ที่จะได้รับ

๒.๑ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง

          ๒.๒ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์

          ๒.๓ สามารถออกแบบและประยุกต์ใช้ระบบโซลาร์เซลล์ในงานด้านต่างๆได้

          ๒.๔ สามารถตรวจสอบและเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้ง

          ๒.๕ มีความรู้ควบคุมการทำงานระบบและซ่อมบำรุงระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้

          ๒.๖ มีความรู้ความเข้าใจตามมาตรฐาน ภายใต้ข้อกำหนด และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

๓. ระยะเวลาการฝึก

  • ผู้รับการฝึกจะได้รับการฝึกภาคทฤษฎีเป็นระยะเวลา ๓ ชั่วโมงและภาคปฏิบัติเป็นระยะเวลา ๓ ชั่วโมง รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๖ ชั่วโมง โดยผู้รับการฝึกจะต้องมีเวลาฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ จึงจะผ่านการฝึกอบรม และรับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาช่างติดตั้งและบำรุงรักษาระบบเซลล์แสงอาทิตย์

๔. คุณสมบัติผู้รับการฝึก

๔.๑ เป็นผู้มีความสนใจด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบอาชีพหรือมีประสบการณ์ทางช่างที่เกี่ยวข้องกับงานติดตั้งระบบไฟฟ้า เครื่องจักรกลไฟฟ้า งานควบคุมระบบ อิเล็กทรอนิกส์หรืองานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

๕. วุฒิบัตร

  • ผู้รับการฝึก จะได้รับใบผ่านการฝึกอบรมความปลอดภัยในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์และการประยุกต์ใช้งาน

๖. หัวข้อวิชา

ลำดับที่หัวข้อวิชาชั่วโมง
ทฤษฎีปฏิบัติ
ความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง
ความรู้เกี่ยวกับระบบโซลาร์เซลล์ 
เทคนิคการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 
การวัดผล 
 

๗. เนื้อหาวิชา

๗.๑ ความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำงานบนที่สูง

  • ความปลอดภัยในการทำงานในขณะปฏิบัติงานบนที่สูง เรียนรู้ถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและวิธีป้องกันอันตรายจากการเกิดอุบัติเกตุที่เกิดจากการปฏิบัติงานต่างๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

๗. ความรู้เกี่ยวกับระบบโซลาร์เซลล์

  • เรียนรู้เกี่ยวกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ชนิดของแผงโซลาร์เซลล์ ส่วนประกอบของแผงโซลาร์เซลล์ อุปกรณ์และหลักการทำงานอุปกรณ์แต่ละชนิดในระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ เช่น อินเวอร์เตอร์ แบตเตอรี่ เครื่องชาร์จและควบคุม มิเตอร์และตู้ควบคุมเป็นต้น พร้อมทั้งศึกษาระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ ระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อกริด

๗.๒.๑  ประเภทและส่วนประกอบของโซลาร์เซลล์

๗.๒.๒  หลักการทำงานของโซลาร์เซลล์

๗.๒.๓  ประโยนช์ของโซลาร์เซลล์

๗.๒.๔  การเลือกชนิดของโซลาร์เซลล์

๗.๒.๕  งบประมาณการติดตั้งและจุดคุ้มทุน

๗.๒.๖  ข้อกำหนดและขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์

๗.๓ เทคนิคการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

  • ศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐาน การเทคนิคและรูปแบบการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ มุมเอียงของดวงอาทิตย์ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง วีธีการต่อเข้าระบบไฟฟ้า การทดสอบการทำงานของระบบ วิธีการวัดเซลล์แสงอาทิตย์และการต่อแผงเซลล์ วิธีการต่อเซลล์แบบอนุกรม วิธีการต่อเซลล์แบบขนาน การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ต่างๆ เช่น การติดตั้งบนหลังคาแต่ละประเภท (Solar Rooftop) การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ(So lar Floating) เป็นต้น

๗.๔ การวัดผล

  • วัดความรู้และทักษะของผู้รับการฝึกโดยการทดสอบและประเมินผล

ตาราง กำหนดการ
ฝึกอบรม ณ ศูนย์ฝึกอบรม แฟคตอรี่เลิร์นนิ่ง

ตารางฝึกอบรม ช่างติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ระดับ 1 ประจำปี 2567
สำหรับช่างซ่อมบำรุง หรือผู้ที่จะติดตั้งระบบรอบที่วันฝึกอบรม
1วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2566
2วันพุธที่ 31 มกราคม
3วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์
4วันพุธที่ 27 มีนาคม
5วันพุธที่ 24 เมษายน
Update 9 ธันวาคม 2566
ตารางฝึกอบรมและทดสอบ ช่างติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ ระดับ 1 ประจำปี 2567
สำหรับ ช่างติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ โดยเฉพาะรอบที่วันฝึกอบรมวันทดสอบ
1วันอังคารที่ 26 ธันวาคม 2566วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566
2วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม
3วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคมวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม
4วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายนวันศุกร์ที่ 26 เมษายน
Update 9 ธันวาคม 2566